วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างงานโรงแรม

1. คณะกรรมการบริหารโรงแรม Board of Director
     หมายถึงกลุ่มบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจาก ผู้ถือหุ้นของกิจการเพื่อเป็นคณะกรรมการบริหารงานของโรงแรม นอกจากนี้ยังอาจรวมไปถึงตัวแทนของกลุ่มธุรกิจ โรงแรม ถ้าโรงแรมเป็นเครือข่ายของกลุ่มธุรกิจโรงแรมนั้น ๆ คณะกรรมการบริหารนี้มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารงานของโรงแรมเพื่อ ให้การดำเนินงานภายในโรงแรมเป็นไปอย่างคล่องตัวมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของแต่ละฝ่ายได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ตลอดจนประเมินผลงานของฝ่ายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ





2. กรรมการผู้จัดการ Managing Director
       หรือ ประธานบริหาร คือ ตำแหน่งสูงสุดในบริษัทหรือหน่วยงาน
3. ผู้จัดการทั่วไป General Manager
    หมายถึง บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหาร ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป บุคคลดังกล่าวอาจเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารหรือเป็นบุคคลภายนอก ที่คณะกรรมการบริหารเชิญมาดำรงตำแหน่งให้เงินเดือนเป็นค่าตอบแทน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสม มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการบริหารงานด้านโรงแรม ผู้จัดการทั่วไปมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหาร และควบคุมการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายภายในโรงแรมให้ดำเนิน ไปตามเป้าหมายและนโยบายที่คณะกรรมการบริหารของโรงแรมกำหนดไว้ รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ภายในโรงแรมให้สามารถดำเนินงานไปอย่างราบรื่น และสอดคล้องกัน


4. รองผู้จัดการทั่วไป Resident Manager

  • ดูแลการจัดการภายในและควบคุมการทำงานของพนักงาน

  • ดูแลการตลาดและการขาย

  • ดูแลด้านบัญชี

  • ดูแลด้านการจัดซื้อ

  • ประสานงานกับผู้จัดการทั่วไป


    5. ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป Executive Assistant Manager
          หมายถึงบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริหาร โดยอาจเป็นบุคคลในคณะกรรมการบริหาร หรือบุคคลภายนอก ที่คณะกรรมการบริหารเชิญมาดำรงตำแหน่งและให้เงินเดือน เป็นค่าตอบแทน เนื่องจากบุคคลดังกล่าวมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการบริหารงานโรงแรมเช่นเดียวกับผู้จัดการทั่วไป
    6. ผู้จัดการแผนกบุคคล Personnel Manager
    มีหน้าที่ในการจัดการ  ดูแล  งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับสมัครงาน,  การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน,  การดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน,  การลงโทษพนักงาน,  การดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู๋ของพนักงานภายในองค์กร  เป็นต้น
    7. สมุห์บัญชี Chief Accountant
          บริษัทไหนที่ต้องการเน้นหรือเพิ่มประสิทธิภาพของกิจการ ก็จะให้ความสำคัญต่อการควบคุมด้านบัญชีและการเงิน พนักงานบัญชีจะต้องมีความเข้าใจลักษณะงานต่าง ๆ ของระบบบัญชี ( ซึ่งทุกวันนี้โรงแรมส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย) และทำความคุ้นเคยกับลักษณะการดำเนินงานของโรงแรมด้วย ตัวอย่างเช่น การควบคุมด้านอาหารและเครื่องดื่ม หรือระบบการเก็บเงินของแผนกต้อนรับส่วนหน้า พนักงานบัญชีที่ดีนั้นไม่ควรจำกัดความสามารถหรือหน้าที่ของตนเพียงแค่การรวบ รวมตัวเลขสถิติทางการเงินเท่านั้น แต่ต้องทำความเข้าใจและตีความได้ว่าตัวเลขแบบใดชี้ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นตรง ไหน และสามารถเข้าจัดการแก้ไขได้ด้วย ในบางโรงแรม เวลาผู้จัดการใหญ่ไม่อยู่ ผู้จัดการฝ่ายการเงินจะเป็นผู้รักษาการแทน
    8. ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม Food & Beverage Manager
        แผนกนี้เป็นบริการมีโอกาสติดต่อกับแขกโดยตรง การบริการหรือวิธีเสิร์ฟมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ารสชาติหรือคุณภาพของ อาหารเลยทีเดียว และมีบางคนถึงกับคิดว่าค่าบริการนั้นสำคัญยิ่งกว่าตัวอาหารซะอีก อย่างไรก็ตามทั้งสองอย่างก็ต้องดีควบคู่กันไป คืออาหารต้องอร่อย และบริการต้องดีด้วย ห้องอาหารนั้นจึงจะเป็นที่พอใจของแขก พนักงานที่มีความสุภาพเป็นกันเอง และหน้าตาต้องยิ้มแย้มเสมอถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดของอาหารเลยที เดียว
    9. หัวหน้าพ่อครัว Executive Chef
           ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกแผนกที่เกี่ยวข้องกับด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องทำงานประสานกับหัวหน้าแผนกครัว (Head Chef) อย่างใกล้ชิด หน้าที่งานหลัก ๆ ของผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ การสรรหาคัดเลือกและฝึกอบรมพนักงาน วางแผนและควบคุมการจัดซื้อของ ดูแลให้การจัดเตรียมอาหารเป็นไปโดยมีมาตรฐานสูง ตลอดจนกำหนดและควบคุมงบประมาณที่เกี่ยวข้อง

    10. ผู้จัดการแผนกต้อนรับส่วนหน้า  Front Office Manager
           โดยทั่วไปเวลาแขกเข้ามาในโรงแรม มักจะเดินตรงไปติดต่อเคาน์เตอร์แผนกต้อนรับ (Reception desk) ซึ่งจะอยู่ภายในอาคารโรงแรมใกล้ประตูทางเข้านั่นเอง พนักงานต้อนรับเป็นผู้ทำหน้าที่ต้อนรับแขก ตรวจสอบข้อมูลการจองห้องพัก และขอให้แขกลงทะเบียนแล้วจึงจ่ายห้อง ในกรณีแขกไม่ได้ทำจองมาก่อนแต่มีห้องว่าง ก็จะดำเนินขั้นตอนการทำงานเดียวกับแบบที่จองมาก่อน
    11. หัวหน้าแผนกแม่บ้าน Executive Housekeeper
          แผนกแม่บ้านรับผิดชอบความสะอาดเรียบร้อยของที่พัก มีลักษณะเป็นงาน "หลังฉาก" (Behide the scenes operation) เหมือนกับงานของแผนกครัว และแขกหรือผู้มาใช้บริการจะได้รับผลโดยตรงจากคุณภาพของงานทำนองเดียวกับแผน ครัวเช่นกัน แต่ผู้ทำงานแผนกนี้ออกจะมีกรรมอยู่สักหน่อย ตรงที่แขกมักจะคิดว่าการที่พักห้องสะอาดทางเดินและบริเวณใช้ร่วมต่าง ๆ ในโรงแรมสะอาด ตลอดจนผ้าปูที่นอน/ปลอกหมอนสะอาดเป็นของธรรมดา คือไม่ค่อยได้สังเกตหรือชมเชย แต่ถ้าเกิดความไม่สะอาดขึ้นมาเมื่อใด แขกจะสังเกตเห็นทันที และจะตำหนิหรือต่อว่า เช่น ห้องพักไม่สะอาด ผ้าปูที่นอนไม่ได้เปลี่ยน หรือห้องน้ำสกปรก เป็นต้น
    12. ผู้จัดการฝ่ายขายและประชาสัมพันธ์  Sales & Public Relation Manager
          นักงานโรงแรมที่มีหน้าที่ที่ต้องติดต่อกับแขกถือได้ว่ามีบทบาทในเชิงประชา สัมพันธ์ อยู่ด้วย แต่ในบางโรงแรมเฉพาะโรงแรมขนาดใหญ่ จะมีเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบงานด้านนี้โดยตรงเรียกว่า ผู้จัดการแผนกประชาสัมพันธ์ หรือเจ้าหน้าที่แผนกประชาสัมพันธ์ อย่างไรก็ดี บางฝ่ายบริหารก็เอาหน้าที่นี้ไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในหน้าที่อื่น อยู่แล้ว เช่น เลขานุการผู้จัดการใหญ่ เป็นต้น
    13. เลขานุการส่วนกลาง Central Secretary
          ตำแหน่งที่สนับสนุนงานของผู้ช่วยฝ่ายบริหารเป็นบุคลากรที่ทำงานประจำต่างๆ งานการจัดการ หรือการช่วยเหลือภารกิจส่วนตัวของผู้บริหาร ผู้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการจะทำงานต่างๆ เช่น การพิมพ์งาน การใช้งานคอมพิวเตอร์ และการจัดตารางนัดหมายให้กับพนักงานระดับสูง หลักสูตรนี้จะช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ทักษะทางอาชีพที่สำคัญและได้พบ เจอกับอุปสรรคต่างๆ ที่จะพบจากการทำงานในสายอาชีพงานเลขานุการ
    14. เสมียนส่วนกลาง Central Clerk
    เสมียนซึ่งคือเหล่าสารบรรณทำงานกับตำรา, เอกสาร

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น